อยู่ไฟหลังคลอดนวดไทย

นวดแก้อาการ 15 โรค

รับนวด – แก้อาการ ๑๕ โรคทั่วไป อัตรา ชม. ละ 500 บาท
๑. ปวดศรีษะจากความเครียด ไมเกรน หูอื้อ ตาลาย อัมพาตหน้า พูดไม่ชัด ขากรรไกรแข็ง (Bell’s palsy)
๒. ปวดคอ กล้ามเนื้อแข็ง กระดูกคอทับเส้นประสาท C7 (Myofascial pain syndrome of C7 Paraspinal muscle)
๓. ปวดบ่า – ไหล่ จากการทำงาน เคล็ดกล้ามเนื้อทั่วไป สะบักจม ยกแขนไม่ขึ้น (Frozen shoulder)
๔. ปวดหลัง – ปวดเอว ไม่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท L3, 4, 5 (Lumbar spondylitis)
๕. ปวดสะโพก ขัดสะโพก ปวดก้น มดลูกเคลื่อน กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Traumatic hip pain)
๖. ปวดแขน จากการทำงาน นิ้วล็อค ชาฝ่ามือ (Carpal tunnel syndrome / Trigger finger)
๗. ปวดข้อศอก - ข้อมือ ที่ไม่ใช่จากการอักเสบติดเชื้อของพังผืด เส้นเอ็น (Lateral / Medial epicondylitis)
๘. ปวดขา จากการเดิน นั่ง ยืนนาน ๆ ปวดฝ่าเท้า กระดูกงอกส้นเท้า (Calcaneal OA)
๙. ปวดเข่า นั่งขัดสมาธิไม่ได้ ขึ้นลงบันไดขัด ตะคริวน่อง ปวดใต้ข้อพับ (Chronic knee, Cramping pain)
๑๐. ปวดข้อเท้า จากข้อเท้าแพลง ตาตุ่มบวม เอ็นร้อยหวายอักเสบ ยกเว้นข้ออักเสบ (Chronicankle pain)
๑๑. หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ปัสสาวะบ่อย ลูกอันฑะปวดบวม (Erectile dysfunction)
๑๒. อัมพาตครึ่งซีก พากิสัน (Parkinson’ disease / Hemiparesis)
๑๓. ปรับประจำเดือน ปวดท้องเมนส์ ปีกมดลูกเอียง มดลูกเคลื่อน สตรีที่ไม่ได้อยู่ไฟ (Procedentia uter)
๑๔. ปรับสมดุลธาตุเจ้าเรือน ปรับเส้นเอ็น เส้นประสาท กล้ามเนื้อ
๑๕. แก้โรคลม ๒๓ ชนิด และบวมน้ำ บวมลม กษัยเส้น สะบัดร้อนสะบัดหนาว


vdo1 vdo2

ดูวีดีโอทั้งหมด

ปวดเข่า

คนเรามักไม่สนใจหัวเข่าเท่าใดนัก  ตราบเท่าที่มันยังทำงานได้ตามปกติ

แต่เมื่อใดที่มีอาการปวดหรือเดินไม่ถนัดจึงเริ่มตระหนักว่า  “หัวเข่านั้นมีความสำคัญ”

วงจรของปัญหาปวดเข่า

nk240761002

 

สาเหตุปวดเข่าที่พบบ่อยและวิธีการรักษา

1. ข้อเพลงหรือเอ็นฉีกขาด

มักเกิดจากอุบัติเหตุการเล่นกีฬา หกล้มหรือได้รับการกระแทกที่รุนแรง

nk240761003

อาการ  จะปวดทันทีหลังบาดเจ็บ  อาจมีบวมแดงหรือเขียวช้ำร่วมด้วย

การรักษา  ประคบด้วยความเย็นประมาณ  15  นาที  ใน  2-3  วันแรก  กินยาแก้ปวด  เมื่อทุเลาปวดแล้วค่อย ๆ  เริ่มออกกำลังข้อเข่า

2. ข้อเข่าเสื่อม

มักพบในหญิงวัยกลางคน

nk240761004

อาการ  ในระยะแรก ๆ จะมีอาการปวดเวลาขึ้นลงบันไดหรือเดินระยะทางไกล ๆ  ปวดเวลานั่งยอง ๆ  แล้วจะลุกขึ้น  ต่อมาจะปวดมากขึ้น  เดินระยะใกล้ ๆ  ก็ปวด  บางครั้งจะมีเสียงดังในเข่าเวลาเคลื่อนไหวหรือเดิน

ผู้ที่เป็นเรื้อรังจะมีเข่าบวม  รู้สึกอุ่น  และเข่ามีลักษณะผิดรูปได้

nk240761006

การรักษา  ประคบด้วยความร้อน  10-15  นาที  กินยาแก้ปวดเมื่อปวดมาก ๆ  ที่สำคัญต้องบริหารข้อเข่าให้กล้ามเนื้อมีกำลังมากขึ้นและลดน้ำหนักในรายที่อ้วน

nk240761008

 

ประโยชน์ของการออกกำลังข้อเข่า

1. ช่วยให้กล้ามเนื้อรอบเข่าแข็งแรงทนทาน

2. ช่วยให้ข้อเข่าเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วเต็มที่

3. ช่วยลดความรุนแรงของการปวดเข่าได้

ควรทำโดย.....

1. เริ่มจากท่าที่ง่ายแล้วพัฒนาไปสู่ท่าที่ยากขึ้น

2. ทำหลังทุเลาปวด หากมีอาการปวดขณะบริหารควรหยุดท่านั้นก่อน

3. ทำสม่ำเสมอทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30-50 ครั้ง

4. ผู้ที่ไม่เคยปวดเข่าทำได้ทุกท่า โดยเน้นท่าที่มีแรงต้าน

 

1. ท่านอนหงายเหยียดเข่า

เป็นท่าที่บริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า นอนหงายใช้หมอนใบเล็ก ๆ หนุนใต้เข่าให้เข่างอเล็กน้อย เหยียดเข่าขึ้นให้ตรงที่สุด เกร็งค้างไว้ 10 วินาที

nk240761010

เมื่ออาการทุเลาลงแล้ว ใช้หมอนรองให้เข่างอมากขึ้นหรือเปลี่ยนมานั่งบนเก้าอี้แทน อาจใช้ถุงทรายหรือน้ำหนักถ่วงบริเวณข้อเท้าเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้มากขึ้น

 

2. ท่านอนคว่ำงอเข่า

เป็นท่าบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง นอนคว่ำ งอเข่าข้างที่เคยปวดหรืองอไม่ได้เข้ามาให้มากที่สุด เกร็งไว้ 10 วินาที แล้วเหยียดออก

nk240761012

เมื่ออาการปวดทุเลาลงแล้วใช้ถุงทรายถ่วงเพิ่มแรงต้านที่ข้อเท้า

 

3. ท่าย่อตัวลงนั่ง

ยืนหันหลังให้ขาชิดขอบเก้าอี้หรือฝาผนัง ค่อย ๆ ข่อเข่าทั้งสองข้างลงนั่งแล้วค่อย ๆ ลุกขึ้นยืนทำช้า ๆ หรืออาจหยุดเกร็งค้างไว้ที่ช่วงใดช่วงหนึ่ง

nk240761014

เมื่อทำได้แล้วให้เปลี่ยนเก้าอี้ให้เตี้ยลงเรื่อย ๆ

 

การป้องกันอาการปวดเข่ากำเริบ

1.ควรฝีกออกกำลังกล้ามเนื้อข้อเข่าท่าต่าง ๆ  ให้สม่ำเสมอ

2.พยายามควบคุมน้ำหนักอย่าให้อ้วนขึ้น

3.หลีกเลี่ยงการใช้เข่ามากเกินไป  เช่น  ยกของหนักเกินกำลัง  หรือ  เล่นกีฬาหักโหม


  

ปวดหลัง

สาเหตุของอาการปวดหลัง

1. ท่าทางที่ไม่ถูกต้องหรืออ้วนเกินไป

คนที่นั่งทำงานในลักษณะหลังค่อมนาน ๆ ยืนก้มตัวทำงานบ่อย ๆ นอนบนที่นอนอ่อนนุ่มเกินไป

nk240761016

2. หลังเคล็ดหรือแพลง

ส่วนมากพบในขณะที่มีการเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกวิธี เช่น ขณะก้มตัวยกของ จากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุบนท้องถนน

nk240761018

3. หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน

มักพบในผู้ที่ก้มตัวยกของหนักเกินไป ทำให้เกิดอาการปวดร้าวลงขา ไม่สามารถก้มและเงยลำตัวได้ บางรายอาจเกิดอาการชาหรือกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงได้

nk240761020

4. การเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลัง

มักพบในผู้สูงอายุ จะมีอาการปวดหลังเป็นระยะ ๆ เมื่อได้นอนพักอาการปวดจะทุเลาลง

nk240761022

5. กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ

มีจุดกดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อหลังส่วนเอวหรือบริเวณกล้ามเนื้อสะโพก

nk240761024

6. ความเครียด

nk240761025

7. สาเหตุอื่น ๆ

เช่น โรคไต กระดูกสันหลังคด มดลูกอักเสบ เป็นต้น

nk240761027

 

ท่าออกกำลังกายป้องกันการปวดหลัง

1. ท่าออกกำลังกล้ามเนื้อหลัง

นอนคว่ำ ชูแขนและไหล่ไห้พ้นพื้น ค้างไว้ประมาณ 5 วินาที หรือยกไหล่และขาด้านตรงข้ามพร้อมกัน ค้างไว้นาน 5 วินาที ทำ 20 – 30 ครั้งต่อวัน

nk240761029

 

 

2. นอนคว่ำ แอ่นหลัง

นอนคว่ำราบกับพื้น ค่อย ๆ เหยียดข้อศอกขึ้นให้ตรง พยายามไม่ให้สะโพกลอยจากพื้น ค้างไว้นาน 10 วินาที ทำซ้ำ 10 – 20 ครั้ง

nk240761031

3. ยืนแอ่นหลัง

ยืนตรงมือเท้าเอว ค่อยแอ่นหลัง ค้างไว้นาน 10 วินาที ทำซ้ำ 10 - 20 ครั้ง

nk240761033

4. ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อหน้าท้อง

นอนหงายชันเข่าสองข้าง ยกศรีษะและบ่าขึ้นตรง ๆ ให้พ้นพื้นมากที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 20 – 30 ครั้งต่อวัน

nk240761034

5. เข่าจรดอก

นอนหงายชันเข่าสองข้าง ใช้มือโน้มเข่าขวามาชิดอกให้มากที่สุด ค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับเป็นเข่าซ้าย ทำซ้ำข้างละ 20 – 30 ครั้ง

nk240761036

6. ยืนก้มตัว

ยืนตรง เท้าสองข้างแยกห่างเล็กน้อย ค่อย ๆ ก้มตัวลงอย่างช้า ๆ ให้มากที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 20 – 30 ครั้ง

nk240761037

 

คำแนะนำ

1. รักษาท่าทางของหลังให้ตรงไว้เสมอ

2. หลีกเลี่ยงการยืนหลังค่อมหรือหลังแอ่นมากเกินไป

3. หมั่นออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังแข็งแรงอยู่เสมอ

4. หลีกเลี่ยงท่าทางที่ไม่ถูกสุขลักษณะ

5. ควรพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดทันทีเมื่อมีปัญหา


 

ปวดคอ

nk240761039

สาเหตุของอาการปวดคอ

1. ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง

กล้ามเนื้อคอจะทำงานมากเกินไป ในคนนั่งโต๊ะทำงานนาน ๆ ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง การหนุนหมอนสูงเกินไป จะมีอาการปวดเมื่อยบริเวณต้นคอและบ่า ถ้าเป็นนานมากอาจปวดหรือชาไปตามแขนและมือได้

nk240761041

2. กระดูกคอเสื่อม

มักเกิดในวัยกลางคน มีปุ่มกระดูกงอกที่ข้อต่อคอและถ้าเป็นมากอาจเกิดการกดทับเส้นประสาทที่คอ ทำให้มีอาการปวดร้าวไปที่บริเวณอื่น ๆ อาจมีอาการชาหรือกล้ามเนื้อแขนอ่อนแรงได้

nk240761043

 

3. ปวดกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่าข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างตึงแข็งเป็นลำขึ้นมา คลำพบก้อนแข็งและกดเจ็บ

nk240761045

 

4. ความเครียดทางจิตใจ

ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งมากและแข็งนาน

5. อื่น ๆ

เช่น ข้ออักเสบ อุบัติเหตุ เป็นต้น

 

การรักษาตนเองเมื่อมีอาการปวดคอ

ปวดเฉียบพลันหรือตกหมอน

จะมีอาการปวดคอหรือคอแข็งอย่างเฉียบพลัน

1. พักผ่อนให้มาก

โดยการนอนราบชั่วคราว เพื่อให้กล้ามเนื้อคอได้พักผ่อน

 

2. รับประทานยา

เพื่อบรรเทาอาการปวด

3. ประคบด้วยความเย็น / ร้อน

ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังจากมีอาการปวด ประคบด้วยผ้าห่อน้ำแข็ง 10 – 15 นาที หลังจากมีอาการแล้ว 24 ชั่วโมง ประคบด้วยถุงน้ำร้อนหรือผ้าชุบน้ำอุ่น 15 – 20 นาที

4. ดัดยืดคอด้วยตนเอง

โดยใช้มือประสานกันที่ท้ายทอย ดันไปด้านที่หันไม่ได้ช้า ๆ จนรู้สึกตึง ค้างไว้ประมาณ 30 วินาที ทำชุดละ 3 – 10 ครั้ง วันละ 3 ชุด

** ไม่ควรนวดหรือจับเส้นในระยะปวดเฉียบพลัน เพราะจะทำให้อักเสบและปวดมากขึ้นได้ **

 

ปวดเรื้อรัง

มักปวดไม่รุนแรง เป็น ๆ หาย ๆ เคลื่อนไหวคอได้ไม่เต็มที่ ปวดเมื่อยหลังทำงาน

1. รับประทานยา เพื่อบรรเทาอาการปวด

2. ประคบด้วยความร้อน ประมาณ 15 – 20 นาที

3. ออกกำลังกายกล้ามเนื้อคออย่างสม่ำเสมอ

4. ยืดกล้ามเนื้อหรือกดคลึงบริเวณที่ปวด

5. พบแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพื่อรับการรักษาทางกายภาพบำบัด

 

การออกกำลังกายกล้ามเนื้อคอ

1. เพื่อให้คอเคลื่อนไหวได้ดี ท่าละ 5 – 10 ครั้ง วันละ 2 – 3 เวลา

- ก้มและเงยหน้า ค่อย ๆ ก้มให้คางจรดอก แล้วเงยหน้าช้า ๆ ให้ได้มากที่สุด

nk240761047

- เอียงคอซ้ายและขวา หน้าตรง ค่อย ๆ เอียงศีรษะไปซ้ายให้จรดไหล่ โดยไม่ยกไหล่ขึ้น แล้วค่อย ๆ เอียงศีรษะไปทางขวาในลักษณะเดียวกัน

nk240761048

- หันหน้าซ้ายและขวา หน้าตรง ค่อย ๆ หันหน้าไปทางซ้ายให้คางอยู่แนวเดียวกับไหล่ซ้าย แล้วค่อย ๆ หมุนกลับมาทางขวาในลักษณะเดียวกัน

nk240761049

2. เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ ทุกท่าเกร็งค้างไว้ 3 – 5 วินาที แล้วพักทำท่าละ 5 – 10 ครั้ง วันละ 2 – 3 เวลา

nk240761050

- ก้มคอ วางมือไว้ที่หน้าผาก ออกแรงต้านกับการพยายามก้มหน้าลง

 

- เงยหน้า ประสานมือไว้เหนือท้ายทอย ออกแรงต้านกับการพยายามเงยหน้า

 

- เอียงคอซ้ายและขวา มือซ้ายวางด้านข้างศีรษะเหนือหูซ้าย ออกแรงต้านกับการพยายามเอียงคอมาทางด้านซ้าย ทำสลับกันโดยใช้มือขวาต้านการเอียงคอทางขวา

 

- หันหน้าซ้ายและขวา มือซ้ายวางบริเวณหน้าผากเหนือคิ้วซ้าย ออกแรงต้านกับการพยายามหันไปทางซ้าย ทำสลับกัน โดยใช้มือขวาต้านการหันหน้าไปทางขวา

 

 

ข้อแนะนำ

หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการปวดยืดกล้ามเนื้อคอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในคนที่ปวดคอ เนื่องจากกระดูกเสื่อม ซึ่งต้องการความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ ในการที่จะช่วยพยุงคอ


 

ปวดไหล่

ข้อไหล่ เป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้ทุกทิศทาง ถ้ามีการบาดเจ็บหรือยึดติดจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแขนและมือลดลง

nk240761052

 

สาเหตุของการปวดไหล่

1. การได้รับบาดเจ็บ เช่น จากการเล่นกีฬา อุบัติเหตุ ถูกกระแทกหรือจากการใช้งานอย่างหนักและรุนแรงผิดปกติ

nk240761054

2. การเสื่อมของเอ็นรอบข้อ ทำให้ไหล่ติด ยกแขนหรือไขว้หลังไม่ได้

nk240761055

3. มีพยาธิสภาพบริเวณคอหรือสะบัก เช่น มีกระดูกงอกทับเส้นประสาท หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ

 

ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีอาการปวดไหล่

1. หยุดพักการใช้ข้อไหล่ในระยะเฉียบพลันหรือมีอาการปวดมาก

2. ประคบด้วยความเย็น ประมาณ 15-30 นาที วันละ 2-3 ครั้ง ใน 2-3 วันแรก เพื่อบรรเทาอาการปวด

3. หลังจาก 3 วันไปแล้ว ประคบด้วยความร้อน เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด

4. บริหารข้อไหล่เมื่อทุเลาปวด เพื่อป้องกันข้อติดแข็ง

5. อย่าบีบนวด ดัด หรือใช้แขนข้างปวดหิ้วของหนักในระยะแรก เพราะทำให้ไหล่อักเสบมากขึ้น

6. ถ้าปวดมากหรือมีข้อติดแข็ง ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด

 

การรักษาทางกายภาพบำบัด

- การใช้ความร้อน/เย็น

- เครื่องมือทางกายภาพบำบัด

- เทคนิคการดัดดึง เพื่อยึดผังผืด

- การบริหารข้อไหล่ด้วยเครื่องมือและท่าบริหารที่เหมาะสม

 

ประโยชน์ของการออกกำลังกายข้อไหล่

1. เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่

2. คงไว้ซึ่งการเคลื่อนไหวของข้อไหล่

3. ลดผังผืดยึดติดในข้อไหล่

 

ท่าบริหารข้อไหล่

1. ท่าแกว่งแขน เท้าแขนดีกับโต๊ะ ก้มตัวให้แขนเจ็บห้อยลง ค่อย ๆ แกว่งไปข้างหน้า – หลัง ใน – นอก และแกว่งเป็นวงกลมตาม – ทวนเข็มนาฬิกาประมาณ 5 นาที วันละ 3 รอบ

nk240761056

2. ท่าไต่ผนัง ยืนตรงแขนเหยียด เอานิ้วแตะฝาผนัง ค่อย ๆ เพิ่มความสูงของมือมากขึ้นตามลำดับ ทำทั้งท่ายืนหันหน้าและหันข้างเข้าฝาผนัง ประมาณ 5 – 10 ครั้ง วันละ 3 รอบ

nk240761058

3. ท่ายกไม้ ใช้มือสองข้างถือไม้ยาว ๆ แขนเหยียดตรง แล้วยกขึ้น – ลงเหนือศีรษะ เอียงซ้าย – ขวา ประมาณ 10 ครั้ง วันละ 3 รอบ

nk240761060

4. ท่าไขว้หลัง ถือไม้ยาว ๆ หรือผ้าเช็ดตัว ในท่าไขว้หลังแล้วดึงขึ้น – ลง และทำสลับแขน

nk2407610602

5. ท่าเคลื่อนไหวแขนทุกทิศทาง เช่น ยกแขนขึ้น – ลง หุบ – กาง หมุนแขนเข้า – ออก โดยทำให้ได้มากที่สุด จนรู้สึกยืดตึงที่ไหล่

nk240761062

*** กรณีที่มีไหล่ติด ควรเพิ่มท่าบริหาร ดังนี้ ***

1. ท่าโน้มตัวกับฝาผนัง ยืนหันหน้าห่างจากฝาผนังประมาณ 1 ฟุต ยกแขนเท้าฝาผนัง ในท่ากางแขนและงอศอก พยายามโน้มตัวให้อกชิดฝาผนังให้มากที่สุด จนรู้สึกยืดตึงที่ไหล่

nk240761063

2. ท่าจับโต๊ะย่อเข่า ยืนหันหลังติดกับโต๊ะสองมือยึดขอบโต๊ะไว้ ย่อเข่าทั้งสองข้างลงช้า ๆ จนรู้สึกตึงที่ไหล่

nk240761066

3. การชักรอก

nk240761067


 

 

การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ในระยะอ่อนแรง

การเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อ หรือจากแรงภายนอกที่มาช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหว เมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น ในผู้ป่วยหมดสติ เป็นอัมพาตหรืออัมพฤก ผู้ป่วยที่มีการอักเสบเกิดขึ้นที่ส่วนของร่างกายทำให้ขาดการเคลื่อนไหว โดยผู้ดูแลหรือญาติจะสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการอยู่นิ่ง ๆ ของส่วนของร่างกายนั้นได้เป็นอย่างดี

 

ประโยชน์ของการเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายโดยผู้อื่น

1. ช่วยรักษาสภาพของเนื้อเยื่อและข้อต่อบริเวณนั้นให้เป็นปกติ

2. ช่วยลดการยึดติดของเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ เป็นต้น

3. ช่วยทำให้สภาพกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นปกติ

4. ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต

5. ช่วยให้สภาพภายในของข้อต่ออยู่ในสภาพปกติ

6. ลดหรือหยุดยั้งอาการเจ็บปวด

7. ช่วยกระตุ้นให้กระบวนการสมานแผลเป็นไปด้วยดีหลังจากขาดการเคลื่อนไหว

 

ข้อจำกัดของการเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายโดยผู้อื่น

1. ไม่สามารถป้องกันการลีบของกล้ามเนื้อ

2. ไม่ช่วยเพิ่มกำลังหรือความทนทานของกล้ามเนื้อ

3. ไม่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตได้มากเท่าการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตัวผู้ป่วยเอง

 

ท่าการเคลื่อนไหวร่างกายผู้ป่วยโดยผู้อื่น

 

การเคลื่อนไหวส่วนแขน

nk240761068

 

ท่าที่ 1 การเคลื่อนไหวข้อไหล่

 

nk240761070

รูปที่ 1.1 การยกแขนขึ้นและลง

 

nk240761071

รูปที่ 1.2 การกางแขน

 

nk240761072

รูปที่ 1.3 การหมุนข้อไหล่ขึ้นลง

 

 

ท่าที่ 2 การเคลื่อนไหวข้อศอก

 

nk240761074

รูปที่ 2.1 การเหยียดและงอข้อศอก

 

ท่าที่ 3 การเคลื่อนไหวปลายแขน

 

nk240761076

รูปที่ 3.1 การหงายและคว่ำมือ

 

ท่าที่ 4 การเคลื่อนไหวข้อมือ

 

nk240761077

รูปที่ 4.1 การกระดกข้อมือขึ้นลง

 

nk240761078

รูปที่ 4.2 การกำและแบมือ

 

2. การคลื่อนไหวส่วนขา

ท่าที่ 5 การเคลื่อนไหวข้อสะโพกและข้อเข่า

 

nk240761080

รูปที่ 5.1 การเหยียดงอเข่าและข้อสะโพก

 

nk240761081

รูปที่ 5.2 การหมุนข้อสะโพกเข้าและออก

 

nk240761083

รูปที่ 5.3 การกางและหุบข้อสะโพก

 

nk240761085

รูปที่ 5.4 การยกขาขึ้นและลง

 

ท่าที่ 6 การเคลื่อนไหวข้อนิ้วและนิ้วเท้า

 

nk240761086

รูปที่ 6.1 การกระดกข้อเท้าขึ้นและลง

 

nk240761088

รูปที่ 6.2 การบิดข้อเท้าเข้าและออก

 

nk240761090

รูปที่ 6.3 การกระดกนิ้วเท้าขึ้น

 

ข้อควรปฏิบัติ

1. ควรทำอย่างช้า ๆ นิ่มนวลและต่อเนื่องกันอย่างน้อยท่าละ 10 – 20 ครั้ง วันละ 2 รอบ

2. ควรถามอาการเจ็บปวด / ดูสีหน้า เพราะอาการเจ็บปวดจะกระตุ้นการเกร็งได้

3. ควรทำให้สุดช่วงการเคลื่อนไหวในแต่ละท่า


นวดแก้อาการ 15 โรค

นวดแก้อาการ 15 โรค


ราคา: 500.00 บาท

รับนวด – แก้อาการ ๑๕ โรคทั่วไป อัตรา ชม. ละ 500 บาท
๑. ปวดศรีษะจากความเครียด ไมเกรน หูอื้อ ตาลาย อัมพาตหน้า พูดไม่ชัด ขากรรไกรแข็ง (Bell’s palsy)
๒. ปวดคอ กล้ามเนื้อแข็ง กระดูกคอทับเส้นประสาท C7 (Myofascial pain syndrome of C7 Paraspinal muscle)
๓. ปวดบ่า – ไหล่ จากการทำงาน เคล็ดกล้ามเนื้อทั่วไป สะบักจม ยกแขนไม่ขึ้น (Frozen shoulder)
๔. ปวดหลัง – ปวดเอว ไม่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท L3, 4, 5 (Lumbar spondylitis)
๕. ปวดสะโพก ขัดสะโพก ปวดก้น มดลูกเคลื่อน กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Traumatic hip pain)
๖. ปวดแขน จากการทำงาน นิ้วล็อค ชาฝ่ามือ (Carpal tunnel syndrome / Trigger finger)
๗. ปวดข้อศอก - ข้อมือ ที่ไม่ใช่จากการอักเสบติดเชื้อของพังผืด เส้นเอ็น (Lateral / Medial epicondylitis)
๘. ปวดขา จากการเดิน นั่ง ยืนนาน ๆ ปวดฝ่าเท้า กระดูกงอกส้นเท้า (Calcaneal OA)
๙. ปวดเข่า นั่งขัดสมาธิไม่ได้ ขึ้นลงบันไดขัด ตะคริวน่อง ปวดใต้ข้อพับ (Chronic knee, Cramping pain)
๑๐. ปวดข้อเท้า จากข้อเท้าแพลง ตาตุ่มบวม เอ็นร้อยหวายอักเสบ ยกเว้นข้ออักเสบ (Chronicankle pain)
๑๑. หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ปัสสาวะบ่อย ลูกอันฑะปวดบวม (Erectile dysfunction)
๑๒. อัมพาตครึ่งซีก พากิสัน (Parkinson’ disease / Hemiparesis)
๑๓. ปรับประจำเดือน ปวดท้องเมนส์ ปีกมดลูกเอียง มดลูกเคลื่อน สตรีที่ไม่ได้อยู่ไฟ (Procedentia uter)
๑๔. ปรับสมดุลธาตุเจ้าเรือน ปรับเส้นเอ็น เส้นประสาท กล้ามเนื้อ
๑๕. แก้โรคลม ๒๓ ชนิด และบวมน้ำ บวมลม กษัยเส้น สะบัดร้อนสะบัดหนาว


vdo1 vdo2

ดูวีดีโอทั้งหมด

ปวดเข่า

คนเรามักไม่สนใจหัวเข่าเท่าใดนัก  ตราบเท่าที่มันยังทำงานได้ตามปกติ

แต่เมื่อใดที่มีอาการปวดหรือเดินไม่ถนัดจึงเริ่มตระหนักว่า  “หัวเข่านั้นมีความสำคัญ”

วงจรของปัญหาปวดเข่า

nk240761002

 

สาเหตุปวดเข่าที่พบบ่อยและวิธีการรักษา

1. ข้อเพลงหรือเอ็นฉีกขาด

มักเกิดจากอุบัติเหตุการเล่นกีฬา หกล้มหรือได้รับการกระแทกที่รุนแรง

nk240761003

อาการ  จะปวดทันทีหลังบาดเจ็บ  อาจมีบวมแดงหรือเขียวช้ำร่วมด้วย

การรักษา  ประคบด้วยความเย็นประมาณ  15  นาที  ใน  2-3  วันแรก  กินยาแก้ปวด  เมื่อทุเลาปวดแล้วค่อย ๆ  เริ่มออกกำลังข้อเข่า

2. ข้อเข่าเสื่อม

มักพบในหญิงวัยกลางคน

nk240761004

อาการ  ในระยะแรก ๆ จะมีอาการปวดเวลาขึ้นลงบันไดหรือเดินระยะทางไกล ๆ  ปวดเวลานั่งยอง ๆ  แล้วจะลุกขึ้น  ต่อมาจะปวดมากขึ้น  เดินระยะใกล้ ๆ  ก็ปวด  บางครั้งจะมีเสียงดังในเข่าเวลาเคลื่อนไหวหรือเดิน

ผู้ที่เป็นเรื้อรังจะมีเข่าบวม  รู้สึกอุ่น  และเข่ามีลักษณะผิดรูปได้

nk240761006

การรักษา  ประคบด้วยความร้อน  10-15  นาที  กินยาแก้ปวดเมื่อปวดมาก ๆ  ที่สำคัญต้องบริหารข้อเข่าให้กล้ามเนื้อมีกำลังมากขึ้นและลดน้ำหนักในรายที่อ้วน

nk240761008

 

ประโยชน์ของการออกกำลังข้อเข่า

1. ช่วยให้กล้ามเนื้อรอบเข่าแข็งแรงทนทาน

2. ช่วยให้ข้อเข่าเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วเต็มที่

3. ช่วยลดความรุนแรงของการปวดเข่าได้

ควรทำโดย.....

1. เริ่มจากท่าที่ง่ายแล้วพัฒนาไปสู่ท่าที่ยากขึ้น

2. ทำหลังทุเลาปวด หากมีอาการปวดขณะบริหารควรหยุดท่านั้นก่อน

3. ทำสม่ำเสมอทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30-50 ครั้ง

4. ผู้ที่ไม่เคยปวดเข่าทำได้ทุกท่า โดยเน้นท่าที่มีแรงต้าน

 

1. ท่านอนหงายเหยียดเข่า

เป็นท่าที่บริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า นอนหงายใช้หมอนใบเล็ก ๆ หนุนใต้เข่าให้เข่างอเล็กน้อย เหยียดเข่าขึ้นให้ตรงที่สุด เกร็งค้างไว้ 10 วินาที

nk240761010

เมื่ออาการทุเลาลงแล้ว ใช้หมอนรองให้เข่างอมากขึ้นหรือเปลี่ยนมานั่งบนเก้าอี้แทน อาจใช้ถุงทรายหรือน้ำหนักถ่วงบริเวณข้อเท้าเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้มากขึ้น

 

2. ท่านอนคว่ำงอเข่า

เป็นท่าบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง นอนคว่ำ งอเข่าข้างที่เคยปวดหรืองอไม่ได้เข้ามาให้มากที่สุด เกร็งไว้ 10 วินาที แล้วเหยียดออก

nk240761012

เมื่ออาการปวดทุเลาลงแล้วใช้ถุงทรายถ่วงเพิ่มแรงต้านที่ข้อเท้า

 

3. ท่าย่อตัวลงนั่ง

ยืนหันหลังให้ขาชิดขอบเก้าอี้หรือฝาผนัง ค่อย ๆ ข่อเข่าทั้งสองข้างลงนั่งแล้วค่อย ๆ ลุกขึ้นยืนทำช้า ๆ หรืออาจหยุดเกร็งค้างไว้ที่ช่วงใดช่วงหนึ่ง

nk240761014

เมื่อทำได้แล้วให้เปลี่ยนเก้าอี้ให้เตี้ยลงเรื่อย ๆ

 

การป้องกันอาการปวดเข่ากำเริบ

1.ควรฝีกออกกำลังกล้ามเนื้อข้อเข่าท่าต่าง ๆ  ให้สม่ำเสมอ

2.พยายามควบคุมน้ำหนักอย่าให้อ้วนขึ้น

3.หลีกเลี่ยงการใช้เข่ามากเกินไป  เช่น  ยกของหนักเกินกำลัง  หรือ  เล่นกีฬาหักโหม


  

ปวดหลัง

สาเหตุของอาการปวดหลัง

1. ท่าทางที่ไม่ถูกต้องหรืออ้วนเกินไป

คนที่นั่งทำงานในลักษณะหลังค่อมนาน ๆ ยืนก้มตัวทำงานบ่อย ๆ นอนบนที่นอนอ่อนนุ่มเกินไป

nk240761016

2. หลังเคล็ดหรือแพลง

ส่วนมากพบในขณะที่มีการเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกวิธี เช่น ขณะก้มตัวยกของ จากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุบนท้องถนน

nk240761018

3. หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน

มักพบในผู้ที่ก้มตัวยกของหนักเกินไป ทำให้เกิดอาการปวดร้าวลงขา ไม่สามารถก้มและเงยลำตัวได้ บางรายอาจเกิดอาการชาหรือกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงได้

nk240761020

4. การเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลัง

มักพบในผู้สูงอายุ จะมีอาการปวดหลังเป็นระยะ ๆ เมื่อได้นอนพักอาการปวดจะทุเลาลง

nk240761022

5. กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ

มีจุดกดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อหลังส่วนเอวหรือบริเวณกล้ามเนื้อสะโพก

nk240761024

6. ความเครียด

nk240761025

7. สาเหตุอื่น ๆ

เช่น โรคไต กระดูกสันหลังคด มดลูกอักเสบ เป็นต้น

nk240761027

 

ท่าออกกำลังกายป้องกันการปวดหลัง

1. ท่าออกกำลังกล้ามเนื้อหลัง

นอนคว่ำ ชูแขนและไหล่ไห้พ้นพื้น ค้างไว้ประมาณ 5 วินาที หรือยกไหล่และขาด้านตรงข้ามพร้อมกัน ค้างไว้นาน 5 วินาที ทำ 20 – 30 ครั้งต่อวัน

nk240761029

 

 

2. นอนคว่ำ แอ่นหลัง

นอนคว่ำราบกับพื้น ค่อย ๆ เหยียดข้อศอกขึ้นให้ตรง พยายามไม่ให้สะโพกลอยจากพื้น ค้างไว้นาน 10 วินาที ทำซ้ำ 10 – 20 ครั้ง

nk240761031

3. ยืนแอ่นหลัง

ยืนตรงมือเท้าเอว ค่อยแอ่นหลัง ค้างไว้นาน 10 วินาที ทำซ้ำ 10 - 20 ครั้ง

nk240761033

4. ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อหน้าท้อง

นอนหงายชันเข่าสองข้าง ยกศรีษะและบ่าขึ้นตรง ๆ ให้พ้นพื้นมากที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 20 – 30 ครั้งต่อวัน

nk240761034

5. เข่าจรดอก

นอนหงายชันเข่าสองข้าง ใช้มือโน้มเข่าขวามาชิดอกให้มากที่สุด ค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับเป็นเข่าซ้าย ทำซ้ำข้างละ 20 – 30 ครั้ง

nk240761036

6. ยืนก้มตัว

ยืนตรง เท้าสองข้างแยกห่างเล็กน้อย ค่อย ๆ ก้มตัวลงอย่างช้า ๆ ให้มากที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 20 – 30 ครั้ง

nk240761037

 

คำแนะนำ

1. รักษาท่าทางของหลังให้ตรงไว้เสมอ

2. หลีกเลี่ยงการยืนหลังค่อมหรือหลังแอ่นมากเกินไป

3. หมั่นออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังแข็งแรงอยู่เสมอ

4. หลีกเลี่ยงท่าทางที่ไม่ถูกสุขลักษณะ

5. ควรพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดทันทีเมื่อมีปัญหา


 

ปวดคอ

nk240761039

สาเหตุของอาการปวดคอ

1. ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง

กล้ามเนื้อคอจะทำงานมากเกินไป ในคนนั่งโต๊ะทำงานนาน ๆ ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง การหนุนหมอนสูงเกินไป จะมีอาการปวดเมื่อยบริเวณต้นคอและบ่า ถ้าเป็นนานมากอาจปวดหรือชาไปตามแขนและมือได้

nk240761041

2. กระดูกคอเสื่อม

มักเกิดในวัยกลางคน มีปุ่มกระดูกงอกที่ข้อต่อคอและถ้าเป็นมากอาจเกิดการกดทับเส้นประสาทที่คอ ทำให้มีอาการปวดร้าวไปที่บริเวณอื่น ๆ อาจมีอาการชาหรือกล้ามเนื้อแขนอ่อนแรงได้

nk240761043

 

3. ปวดกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่าข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างตึงแข็งเป็นลำขึ้นมา คลำพบก้อนแข็งและกดเจ็บ

nk240761045

 

4. ความเครียดทางจิตใจ

ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งมากและแข็งนาน

5. อื่น ๆ

เช่น ข้ออักเสบ อุบัติเหตุ เป็นต้น

 

การรักษาตนเองเมื่อมีอาการปวดคอ

ปวดเฉียบพลันหรือตกหมอน

จะมีอาการปวดคอหรือคอแข็งอย่างเฉียบพลัน

1. พักผ่อนให้มาก

โดยการนอนราบชั่วคราว เพื่อให้กล้ามเนื้อคอได้พักผ่อน

 

2. รับประทานยา

เพื่อบรรเทาอาการปวด

3. ประคบด้วยความเย็น / ร้อน

ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังจากมีอาการปวด ประคบด้วยผ้าห่อน้ำแข็ง 10 – 15 นาที หลังจากมีอาการแล้ว 24 ชั่วโมง ประคบด้วยถุงน้ำร้อนหรือผ้าชุบน้ำอุ่น 15 – 20 นาที

4. ดัดยืดคอด้วยตนเอง

โดยใช้มือประสานกันที่ท้ายทอย ดันไปด้านที่หันไม่ได้ช้า ๆ จนรู้สึกตึง ค้างไว้ประมาณ 30 วินาที ทำชุดละ 3 – 10 ครั้ง วันละ 3 ชุด

** ไม่ควรนวดหรือจับเส้นในระยะปวดเฉียบพลัน เพราะจะทำให้อักเสบและปวดมากขึ้นได้ **

 

ปวดเรื้อรัง

มักปวดไม่รุนแรง เป็น ๆ หาย ๆ เคลื่อนไหวคอได้ไม่เต็มที่ ปวดเมื่อยหลังทำงาน

1. รับประทานยา เพื่อบรรเทาอาการปวด

2. ประคบด้วยความร้อน ประมาณ 15 – 20 นาที

3. ออกกำลังกายกล้ามเนื้อคออย่างสม่ำเสมอ

4. ยืดกล้ามเนื้อหรือกดคลึงบริเวณที่ปวด

5. พบแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพื่อรับการรักษาทางกายภาพบำบัด

 

การออกกำลังกายกล้ามเนื้อคอ

1. เพื่อให้คอเคลื่อนไหวได้ดี ท่าละ 5 – 10 ครั้ง วันละ 2 – 3 เวลา

- ก้มและเงยหน้า ค่อย ๆ ก้มให้คางจรดอก แล้วเงยหน้าช้า ๆ ให้ได้มากที่สุด

nk240761047

- เอียงคอซ้ายและขวา หน้าตรง ค่อย ๆ เอียงศีรษะไปซ้ายให้จรดไหล่ โดยไม่ยกไหล่ขึ้น แล้วค่อย ๆ เอียงศีรษะไปทางขวาในลักษณะเดียวกัน

nk240761048

- หันหน้าซ้ายและขวา หน้าตรง ค่อย ๆ หันหน้าไปทางซ้ายให้คางอยู่แนวเดียวกับไหล่ซ้าย แล้วค่อย ๆ หมุนกลับมาทางขวาในลักษณะเดียวกัน

nk240761049

2. เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ ทุกท่าเกร็งค้างไว้ 3 – 5 วินาที แล้วพักทำท่าละ 5 – 10 ครั้ง วันละ 2 – 3 เวลา

nk240761050

- ก้มคอ วางมือไว้ที่หน้าผาก ออกแรงต้านกับการพยายามก้มหน้าลง

 

- เงยหน้า ประสานมือไว้เหนือท้ายทอย ออกแรงต้านกับการพยายามเงยหน้า

 

- เอียงคอซ้ายและขวา มือซ้ายวางด้านข้างศีรษะเหนือหูซ้าย ออกแรงต้านกับการพยายามเอียงคอมาทางด้านซ้าย ทำสลับกันโดยใช้มือขวาต้านการเอียงคอทางขวา

 

- หันหน้าซ้ายและขวา มือซ้ายวางบริเวณหน้าผากเหนือคิ้วซ้าย ออกแรงต้านกับการพยายามหันไปทางซ้าย ทำสลับกัน โดยใช้มือขวาต้านการหันหน้าไปทางขวา

 

 

ข้อแนะนำ

หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการปวดยืดกล้ามเนื้อคอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในคนที่ปวดคอ เนื่องจากกระดูกเสื่อม ซึ่งต้องการความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ ในการที่จะช่วยพยุงคอ


 

ปวดไหล่

ข้อไหล่ เป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้ทุกทิศทาง ถ้ามีการบาดเจ็บหรือยึดติดจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแขนและมือลดลง

nk240761052

 

สาเหตุของการปวดไหล่

1. การได้รับบาดเจ็บ เช่น จากการเล่นกีฬา อุบัติเหตุ ถูกกระแทกหรือจากการใช้งานอย่างหนักและรุนแรงผิดปกติ

nk240761054

2. การเสื่อมของเอ็นรอบข้อ ทำให้ไหล่ติด ยกแขนหรือไขว้หลังไม่ได้

nk240761055

3. มีพยาธิสภาพบริเวณคอหรือสะบัก เช่น มีกระดูกงอกทับเส้นประสาท หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ

 

ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีอาการปวดไหล่

1. หยุดพักการใช้ข้อไหล่ในระยะเฉียบพลันหรือมีอาการปวดมาก

2. ประคบด้วยความเย็น ประมาณ 15-30 นาที วันละ 2-3 ครั้ง ใน 2-3 วันแรก เพื่อบรรเทาอาการปวด

3. หลังจาก 3 วันไปแล้ว ประคบด้วยความร้อน เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด

4. บริหารข้อไหล่เมื่อทุเลาปวด เพื่อป้องกันข้อติดแข็ง

5. อย่าบีบนวด ดัด หรือใช้แขนข้างปวดหิ้วของหนักในระยะแรก เพราะทำให้ไหล่อักเสบมากขึ้น

6. ถ้าปวดมากหรือมีข้อติดแข็ง ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด

 

การรักษาทางกายภาพบำบัด

- การใช้ความร้อน/เย็น

- เครื่องมือทางกายภาพบำบัด

- เทคนิคการดัดดึง เพื่อยึดผังผืด

- การบริหารข้อไหล่ด้วยเครื่องมือและท่าบริหารที่เหมาะสม

 

ประโยชน์ของการออกกำลังกายข้อไหล่

1. เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่

2. คงไว้ซึ่งการเคลื่อนไหวของข้อไหล่

3. ลดผังผืดยึดติดในข้อไหล่

 

ท่าบริหารข้อไหล่

1. ท่าแกว่งแขน เท้าแขนดีกับโต๊ะ ก้มตัวให้แขนเจ็บห้อยลง ค่อย ๆ แกว่งไปข้างหน้า – หลัง ใน – นอก และแกว่งเป็นวงกลมตาม – ทวนเข็มนาฬิกาประมาณ 5 นาที วันละ 3 รอบ

nk240761056

2. ท่าไต่ผนัง ยืนตรงแขนเหยียด เอานิ้วแตะฝาผนัง ค่อย ๆ เพิ่มความสูงของมือมากขึ้นตามลำดับ ทำทั้งท่ายืนหันหน้าและหันข้างเข้าฝาผนัง ประมาณ 5 – 10 ครั้ง วันละ 3 รอบ

nk240761058

3. ท่ายกไม้ ใช้มือสองข้างถือไม้ยาว ๆ แขนเหยียดตรง แล้วยกขึ้น – ลงเหนือศีรษะ เอียงซ้าย – ขวา ประมาณ 10 ครั้ง วันละ 3 รอบ

nk240761060

4. ท่าไขว้หลัง ถือไม้ยาว ๆ หรือผ้าเช็ดตัว ในท่าไขว้หลังแล้วดึงขึ้น – ลง และทำสลับแขน

nk2407610602

5. ท่าเคลื่อนไหวแขนทุกทิศทาง เช่น ยกแขนขึ้น – ลง หุบ – กาง หมุนแขนเข้า – ออก โดยทำให้ได้มากที่สุด จนรู้สึกยืดตึงที่ไหล่

nk240761062

*** กรณีที่มีไหล่ติด ควรเพิ่มท่าบริหาร ดังนี้ ***

1. ท่าโน้มตัวกับฝาผนัง ยืนหันหน้าห่างจากฝาผนังประมาณ 1 ฟุต ยกแขนเท้าฝาผนัง ในท่ากางแขนและงอศอก พยายามโน้มตัวให้อกชิดฝาผนังให้มากที่สุด จนรู้สึกยืดตึงที่ไหล่

nk240761063

2. ท่าจับโต๊ะย่อเข่า ยืนหันหลังติดกับโต๊ะสองมือยึดขอบโต๊ะไว้ ย่อเข่าทั้งสองข้างลงช้า ๆ จนรู้สึกตึงที่ไหล่

nk240761066

3. การชักรอก

nk240761067


 

 

การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ในระยะอ่อนแรง

การเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อ หรือจากแรงภายนอกที่มาช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหว เมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น ในผู้ป่วยหมดสติ เป็นอัมพาตหรืออัมพฤก ผู้ป่วยที่มีการอักเสบเกิดขึ้นที่ส่วนของร่างกายทำให้ขาดการเคลื่อนไหว โดยผู้ดูแลหรือญาติจะสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการอยู่นิ่ง ๆ ของส่วนของร่างกายนั้นได้เป็นอย่างดี

 

ประโยชน์ของการเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายโดยผู้อื่น

1. ช่วยรักษาสภาพของเนื้อเยื่อและข้อต่อบริเวณนั้นให้เป็นปกติ

2. ช่วยลดการยึดติดของเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ เป็นต้น

3. ช่วยทำให้สภาพกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นปกติ

4. ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต

5. ช่วยให้สภาพภายในของข้อต่ออยู่ในสภาพปกติ

6. ลดหรือหยุดยั้งอาการเจ็บปวด

7. ช่วยกระตุ้นให้กระบวนการสมานแผลเป็นไปด้วยดีหลังจากขาดการเคลื่อนไหว

 

ข้อจำกัดของการเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายโดยผู้อื่น

1. ไม่สามารถป้องกันการลีบของกล้ามเนื้อ

2. ไม่ช่วยเพิ่มกำลังหรือความทนทานของกล้ามเนื้อ

3. ไม่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตได้มากเท่าการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตัวผู้ป่วยเอง

 

ท่าการเคลื่อนไหวร่างกายผู้ป่วยโดยผู้อื่น

 

การเคลื่อนไหวส่วนแขน

nk240761068

 

ท่าที่ 1 การเคลื่อนไหวข้อไหล่

 

nk240761070

รูปที่ 1.1 การยกแขนขึ้นและลง

 

nk240761071

รูปที่ 1.2 การกางแขน

 

nk240761072

รูปที่ 1.3 การหมุนข้อไหล่ขึ้นลง

 

 

ท่าที่ 2 การเคลื่อนไหวข้อศอก

 

nk240761074

รูปที่ 2.1 การเหยียดและงอข้อศอก

 

ท่าที่ 3 การเคลื่อนไหวปลายแขน

 

nk240761076

รูปที่ 3.1 การหงายและคว่ำมือ

 

ท่าที่ 4 การเคลื่อนไหวข้อมือ

 

nk240761077

รูปที่ 4.1 การกระดกข้อมือขึ้นลง

 

nk240761078

รูปที่ 4.2 การกำและแบมือ

 

2. การคลื่อนไหวส่วนขา

ท่าที่ 5 การเคลื่อนไหวข้อสะโพกและข้อเข่า

 

nk240761080

รูปที่ 5.1 การเหยียดงอเข่าและข้อสะโพก

 

nk240761081

รูปที่ 5.2 การหมุนข้อสะโพกเข้าและออก

 

nk240761083

รูปที่ 5.3 การกางและหุบข้อสะโพก

 

nk240761085

รูปที่ 5.4 การยกขาขึ้นและลง

 

ท่าที่ 6 การเคลื่อนไหวข้อนิ้วและนิ้วเท้า

 

nk240761086

รูปที่ 6.1 การกระดกข้อเท้าขึ้นและลง

 

nk240761088

รูปที่ 6.2 การบิดข้อเท้าเข้าและออก

 

nk240761090

รูปที่ 6.3 การกระดกนิ้วเท้าขึ้น

 

ข้อควรปฏิบัติ

1. ควรทำอย่างช้า ๆ นิ่มนวลและต่อเนื่องกันอย่างน้อยท่าละ 10 – 20 ครั้ง วันละ 2 รอบ

2. ควรถามอาการเจ็บปวด / ดูสีหน้า เพราะอาการเจ็บปวดจะกระตุ้นการเกร็งได้

3. ควรทำให้สุดช่วงการเคลื่อนไหวในแต่ละท่า